ประเมินน้ำหนักตัวของคุณ
การประเมินน้ำหนักตัว เพื่อเน้น ลดน้ำหนัก
เพื่อเป็นข้อมูล และใช้ในการวางแผนในการลดน้ำหนัก

การประเมินน้ำหนักตัว เพื่อเน้น ลดน้ำหนัก เพื่อเป็นข้อมูล
และใช้ในการวางแผนใน การลดน้ำหนัก

• การคำนวณน้ำหนักตัว
• ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม
• คำนวณไขมันของร่างกาย
• ความหมายของการประเมินน้ำหนักตัว
น้ำหนักสุขภาวะ (Healthy Weight)
หมายถึง ช่วงน้ำหนักตัวที่สัมพันธ์กับการมีสุขภาพที่ดีโดยประเมิน
จากตัวเลขทางสถิติ ในทางสถิติของปัจจัยต่างๆ
การมีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพ
เช่น โรคหัวใจ และ ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้เชี่ยวชาญด้าน
การดูแลสุขภาพ ใช้เกณฑ์วัดหลักๆ 3 ประการ
ในการประเมินว่าบุคคลนั้นๆ มีน้ำหนักสุขภาวะหรือไม่ ดังนี้
• ดัชนีมวลน้ำหนักของร่างกาย
(Body Mass Index หรือ BMI)
คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกาย

• ขนาดรอบเอว (Waist size) เป็นการวัดที่สามารถบอกได้ว่า
ตำแหน่งของไขมันในร่างกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่
• ปัจจัยเสี่ยงการเกิดปัญหาด้านสุขภาพอันเป็นผล
จากการมีน้ำหนักตัวเกิน เช่น ระดับคอเลสเตอรอล ความดันโลหิต
และประวัติครอบครัว น้ำหนักสุขภาวะของคุณอาจแตกต่างจากคนอื่น
แม้ว่าบางคนอาจจะมีความสูงเท่ากัน เพศเดียวกัน และ อายุเท่ากัน
เนื้อหาในบทนี้จะช่วยคุณกำหนดได้ว่าน้ำหนักตัวเท่าไร
เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ ซึ่งหมายถึงน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพ
ไม่ใช่น้ำหนักตัวที่ต่ำที่สุดที่คุณจะสามารถลดได้

น้ำหนักเป็นมากกว่าตัวเลข
เมื่อคุณก้าวขึ้นบนตราชั่ง ตัวเลขจะบอกถึงน้ำหนักตัวทั้งหมด
ของร่างกายคุณ ซึ่งประกอบไปด้วยไขมัน กล้ามเนื้อ กระดูก
และปริมาณน้ำในร่างกาย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้น
สำหรับการประเมินน้ำหนักสุขภาวะ แต่ยังไม่ใช่น้ำหนักสุขภาวะ
ที่แท้จริง หลังจากที่ทราบน้ำหนักแล้ว คุณจะสามารถเปรียบเทียบ
น้ำหนักตัวของคุณกับเกณฑ์น้ำหนักสุขภาวะด้วยการประเมิน
จากน้ำหนักมัธยฐาน หรือโดยวิธีคำนวณ
ดัชนีมวลน้ำหนักของร่างกาย (BMI)แต่จะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าน้ำหนักตัวของคุณเกินกว่าเกณฑ์ สำหรับคนส่วนมากแล้ว
นั่นหมายถึงสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอลง ยิ่งมีน้ำหนักตัวเกินมากเท่าไร
หรือมีน้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์น้ำหนักสุขภาวะเทียบเท่าความสูง
ของคุณมากเท่าไหร่ โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุภาพ
ย่อมมากขึ้นเท่านั้น

น้ำหนักตัวมัธยฐาน
น้ำหนักมัธยฐาน คือ การประเมินน้ำหักที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
โดยการคำนวณด้วยสูตรง่ายๆ ดังต่อไปนี้
นน. ชาย = ส่วนสูง (ซม) -100
นน. หญิง = ส่วนสูง (ซม) -110
เช่น ถ้าผู้ชายคนหนึ่งสูง 180 ซม.
น้ำหนักมัธยฐาน คือ 180-100 = 80 กก.
ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งสูง 160 ซม. น้ำหนักมัธยฐาน
คือ 160-110 = 50 กก.
3.3 การคำนวนดัชนีมวลร่างกาย (Body Mass Index)
นอกจากค่าน้ำหนักมัธยฐานแล้ว เครื่องมืออีกตัวหนึ่ง
คือ ดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูว่าคุณมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หรือมีน้ำหนักตัวเกิน และมีความเสี่ยงต่อการ
เกิดปัญหาสุขภาพหรือไม่ ดัชนีมวลร่างกายจะสัมพันธ์กับไขมันทั้งหมด
ในร่างกาย และที่ดีที่สุด คือ มันสามารถหาค่าได้โดยง่ายดาย
และสามารถใช้ได้กับผู้ใหญ่ทุกคน

ค่าจากการวัดรอบเอว
แม้ว่าคุณจะไม่เคยขึ้นชั่งน้ำหนักหรือวัดส่วนสูงเลยก็ตาม
แต่รอบเอวของคุณสามารถบ่งบอกได้ถึงสภาวะด้านสุขภาพ
ของคุณได้ ถึงแม้ว่าขนาดของรอบเอวจะไม่สามารถใช้ปริมาณ
เพื่อหาร้อยละไขมันของร่างกายได้ แต่ขนาดของรอบเอว
ก็สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งไขมันในร่างกายได้
การทราบว่าร่างกายมีไขมันสะสมอยู่ที่ไหน ร่วมกับการทราบ
ค่าดัชนีมวลร่างกาย จะเป็นตัวบอกคุณได้ว่าคุณมีน้ำหนักตัวเกิน
หรือไม่และจำเป็นต้องลดน้ำหนักตัวลงหรือไม่ ไขมันที่สะสมอยู่
ตามหน้าท้องทำให้คุณมีแนวโน้มต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย

คนที่มีไขมันรอบเอว (รูปร่างทรงแอปเปิ้ล)
จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังร้ายแรงได้สูงกว่าคน
ที่มีไขมันสะสมตามสะโพกหรือบั้นท้าย (รูปร่างทรงลูกแพร์)
การวัดรอบเอวที่ถูกต้องทำได้โดย
1. ยืนในท่าที่สบาย ผ่อนคลายหัวไหล่
2. วัดรอบเอวด้วยสายวัด ในตำแหน่งใต้ซี่โครง และเหนือสะดือ
3. หายใจออก
4. อ่านตัวเลข
การประมวลผลจากค่า BMI และรอบเอว
ที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่นโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และ โรคหัวใจ
ความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจากขนาดของรอบเอว
BMI ต่ำกว่า 40 นิ้ว (สำหรับเพศชาย) 25.0 – 29.9 เพิ่มขึ้นสูง
ต่ำกว่า 35นิ้ว (สำหรับเพศหญิง) 30.0 – 34.9 สูง สูงมาก
เกินกว่า 40 นิ้ว (สำหรับเพศชาย) 35.0 – 39.9 สูงมาก สูงมาก
เกินกว่า 35 นิ้ว (สำหรับเพศหญิง) เกินกว่า 40 สูงมากๆ สูงมากๆ
ถ้าค่า BMI ของคุณอยู่ระหว่าง 25-34.9
และขนาดของรอบเอวเกิน 40 นิ้ว (หากคุณเป็นผู้ชาย)
หรือ 35 นิ้ว (หากคุณเป็นผู้หญิง) คุณมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการ
เกิดปัญหาสุขภาพร้ายอันเนื่องจากมีน้ำหนักตัวเกิน แต่ถ้า BMI
ของคุณมีค่าอยู่ระหว่าง 19-25 ซึ่งเป็นช่วงเกณฑ์น้ำหนักสุขภาวะ
คุณจะมีความเสี่ยงต่อปัญหา สุขภาพถ้าขนาดของรอบเอวใหญ่
เกินกว่าขนาดของสะโพก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น